วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การประเมินสารสนเทศ

     ในปัจจุบันมีเว็บเพจออนไลน์ในระบบอินเทอร์เน็ตนับร้อย ๆ ล้านเว็บ   แต่มีคำถามสำคัญที่ต้องมาหาคำตอบก็คือ เว็บแบบไหนที่มีคุณภาพดี     
เว็บแบบใดจึงจะถือว่าเป็นเว็บที่มีคุณค่าและเหมาะสมสำหรับนำมาใช้ประโยชน์ เป็นเรื่องที่ต้องตอบคำถามกันอยู่เสมอและยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน   
     เมื่อพิจารณาแบบประเมินเว็บเพจของ ดร.แนนซี  อีเวอร์ฮาร์ท (Everhart, 1996)  ภาควิชาบรรณารักษและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น รัฐนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ซึ่งกำหนดระดับการให้คะแนนเอาไว้อย่างน่าสนใจและน่าจะนำมาขยายความ เพื่อประโยชน์ในการประเมินคุณภาพของเว็บสำหรับนักออกแบบและพัฒนาเว็บ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดสารสนเทศผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จะได้มีแนวทางในการตรวจสอบและประเมินคุณภาพที่สามารถอธิบายเหตุผลได้     
โดยแนวคิดของอีเวอร์ฮาร์ท จะมีด้วยกัน 9 ด้านคือ
1.       ความทันสมัย (Currency)
2.       เนื้อหาและข้อมูล (Content and Information)
3.       ความน่าเชื่อถือ (Authority)
4.       การเชื่อมโยงข้อมูล (Navigation)
5.       การปฏิบัติจริง (Experience)
6.       ความเป็นมัลติมีเดีย (Multimedia)
7.       การให้ข้อมูล (treatment)
8.       การเข้าถึงข้อมูล  (Access)
9.       ความหลากหลายของข้อมูล (Miscellaneous)

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Subject Search Engine

"Gateway Pages"

  • ใช้ค้นข้อมูลเฉพาะสาขาวิชา หรือข้อมูลเฉพาะด้าน
  • ใช้ค้นหาแหล่งที่มี บริการฐานข้อมูล
  • นิยมจัดทำเป็นแบบนามานุกรม
  • จัดทำโดยบรรณารักษ์ ผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานเฉพาะ
  • วัตถุประสงค์เพื่อการค้นคว้าวิจัยเฉพาะด้าน

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ตารางสอบกลางภาค ภาคเรียนที่ 1/2554

1 สิงหาคม 2554
เวลา 15.30-18.30 น. HB 5330

โปรแกรมค้นหาแบบนามานุกรม (Subject Directory Searh Engines)

การจัดทำนามานุกรม
  • ใช้คนทำการตรวจสอบ คัดเลือก และเปิดให้ผู้จัดทำเว็บเพจแจ้งลงทะเบียน
  • ผู้ตรวจสอบจะประเมินและเลือกจัดเก็บเฉพาะเว็บเพจที่เห็นว่ามีความน่าเชื่อถือเท่านั้นและจะจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาโดยสรุปของเอกสาร ทำให้มีฐานข้อมูลจำนวนไม่มาก
  • Yahoo มีฐานข้อมูลประมาณ 2 ล้านเว็บไซต์ 
  • LookSmart มีฐานข้อมูลประมาณ 2.5 ล้านเว็บไซต์ (2008)
  • รูปแบบการค้นจะทำการค้นดรรชนีคำศัพท์จากส่วน ชื่เรื่อง และรายละเอียดที่สรุปเกี่ยวกับเนื้อหาของเว็บเพจเท่านั้น จึงทำให้ผลการค้นคืนตรงต่อความต้องการของผู้ใช้มากกว่า Index Search Engine
  • ไม่มีการปรับปรุงข้อมูลเกี่ยวกับเว็บเพจ การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของเว็บเพจหรือปรับปรุงเนื้อหาใหม่ของผู้จัดทำเว็บเพจในแต่ละครั้งจะไม่กระทบกับฐานข้อมูล เพราะส่วนอธิบายเนื้อหาโดยรวมก็จะคงอยู่เช่นเดิม และไม่ต้องมาปรับดรรชนีคำใหม่
  • แบ่งเนื้อหาออกเป็นกลุ่มๆ และมีการแบ่งย่อยลึกไปเรื่อยๆเป็นลำดับชั้นตามลำดัีบในแต่ละกลุ่มแบบเดียวกับระบบการจัดหมู่ห้องสมุด
  • มีการแจ้งจำนวนเว็บเพจที่มีการจัดเก็บในแต่ละหัวเรื่องให้ทราบอยู่ตลอดเวลา

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การใช้ Google Scholar; Google Goggles; MetaSearch engine

Google Scholar 

     Google Scholar เป็นวิธีที่ง่ายๆ ในการค้นหางานเขียนทางวิชาการได้อย่างกว้างขวาง สามารถค้นหาในสาขาวิชาและแหล่งข้อมูลต่างๆ มากมายได้จากจุดเดียว
  • บทความ 
  • peer-reviewed 
  • วิทยานิพนธ์ 
  • หนังสือ 
  • บทคัดย่อ 
  • บทความจากสำนักพิมพ์ทางวิชาการ แวดวงวิชาชีพ ที่เก็บร่างบทความ มหาวิทยาลัย และองค์กรด้านการศึกษาอื่นๆ 
Google Scholar ช่วยให้สามารถระบุการค้นคว้าที่เกี่ยวข้องมากที่สุดในโลกแห่งการค้นคว้า วิจัยทางวิชาการ
    คุณลักษณะของ Google Scholar
  • ค้นหา แหล่งข้อมูลที่หลากหลายจากจุดที่สะดวกจุดเดียว
  • ค้นหา บทความ บทคัดย่อ และการอ้างอิง
  • ค้นหาตำแหน่ง ของบทความฉบับสมบูรณ์จากทั่วทั้งห้องสมุดของคุณหรือบนเว็บ
  • เรียนรู้ เกี่ยวกับบทความสำคัญในการค้นคว้าวิจัยสาขาใดๆ


Google Goggles

     คือ ค้นหาข้อมูลจากภาพในเครื่องแอนดรอยด์ คือการเอากล้องในเครื่องแอนดรอยด์ไปส่องที่วัตถุ หรือสถานที่ที่อยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติม ระบบจะทำการค้นหาข้อมูลรายละเอียดสิ่งที่เราอยากทราบให้อัตโนมัติ       โดยหลักๆแล้วสามารถค้นหาได้ 7 หมวดในตอนนี้
  • ภาพสถานที่ท่องเที่ยว
  • รายชื่อและเบอร์ติดต่อ
  • งานศิลป์ดังๆ
  • ภาพสถานที่ต่างๆ
  • ไวน์
  • โลโก้สินค้า
  • ปกหนังสือ
     หลักการการทำงานของ  Google Goggles คือเมื่อถ่ายภาพเสร็จข้อมูลภาพนั้นจะถูกส่งไปเปรียบเทียบกับข้อมูลใน Server ว่าแมทซ์กับข้อมูลใดแล้วจะส่งข้อมูลนั้นกลับมาให้ทราบ

MetaSearch engine

  •  คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษาHTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่าง ๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษา HTML 
  •  เช่น ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ 
  •  ผลการค้นหาของ Meta Search Engine มักไม่แม่นยำ เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือ ผู้ออกแบบเว็บสามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมายเพื่อให้เกิดการค้นหาและพบเว็บ หรือ บล็อกของตนเองและอีกประการหนึ่งก็คือ มีการอาศัย Search Engine Index Server หลาย ๆ แห่งมาประมวลผลรวมกัน จึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร
     

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทดสอบครั้งที่1 : Venn Diagram Boolean

การทดสอบครั้งที่ 1  โดยให้กำหนดบริเวณของข้อมูลที่จะได้จาก การกำหนดรูปแบบการค้นโดยใช้ Boolean ข้อสอบมีทั้งหมด  7

การจำกัดคำค้น (Search Limits)

การจำกัดคำค้น เป็นการสืบค้นที่สามารถจำกัดรูปแบบ ประเภท ภาษา ภูมิภาค และวันเวลาที่แสดง
ของข้อมูลที่ต้องการได้ 
  • ทำให้ได้ผลค้นที่จำเพาะเจาะจงมาขึ้นและจำนวนน้อยลง
ประกอบด้วย
Basic search
เป็นการค้นที่สามารถพบได้ในหน้าแรกของการค้นหา ซึ่งจะมี field search ให้เลือก
ช้ตามความต้องการ
เช่น key word, subject heading และ medical เป็นต้นและยังสามารถใช้ AND OR NOT เพื่อช่วยในการค้นได้อีกด้วย
สำหรับ Google นั้นสามารถพิมพ์ allintittle:____________ เพื่อช่วยค้นได้ทันที

Advance search
ช่วยผู้ค้นให้สามารถค้นข้อมูลทีต้องการได้มากขึ้น โดยจะมีคำว่า Any field และสามารถช่วยเติมoperator ให้เพื่อให้สามารถอธิบายการค้นได้ชัดเจนขึ้น มักปรากฏคำว่า search and sort หรือ sorted by relevance
เช่น
(cause) and (earthquake)
t: (earthquake) and t: (effect)
สำหรับ Google นั้นสามารถพิมพ์ allintittle:_______ filetyp:_____ เพื่อช่วยค้นได้ทันที


การกำหนดค้นโดยใช้ตัวดำเนินการ (Operators)

การใช้ตัวดำเนินการในการเชื่อมโยงคำสำคัญ ตัวดำเนินการจะเป็นคำ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการเชื่อมระหว่างคำสำคัญที่กำหนด เพื่อใช้ในการแจ้งโปรแกรมฐานข้อมูลให้เข้าใจความต้องการในการค้น เพื่อให้ได้ผลค้นที่มีเนื้อหาตรงตามความต้องการ

ตัวดำเนินการ ประกอบด้วย
  • บูลีน (Boolean)
  • การกำหนดระยะ (Proximity)
  • การกำหนดใช้เครื่องหมายในการควบคุมการค้น
1. Boolean Operator

     คือ การใช้เครื่องหมายกำกับในการเชื่อมคำสำคัญ ได้แก่

      - AND  คำทั้งหมดที่กำหนดต้องปรากฎในเอกสาร เพราะ จะค้นหาทุก 
        ฐานข้อมูล และทุกๆ field  และมักใช้คำเชื่อมที่มีความหมายไม่เหมือนกัน

      - OR ผลการค้นจะปรากฎเยอะกว่า AND เพราะจะค้นหาจากทุกๆ คำ
            
      - NOT ใช้เมื่อต้องการตัดคำที่ไม่ต้องการออก
 
 
2. ตัวกำกับระยะ และการค้นแบบวลี(Proximity and Phrase search)
 
    ประกอบด้วย
 
      - NEAR หมายถึง คำทั้งสองคำต้องอยู่ในระยะที่กำหนด ซึ่งโดยฐานข้อมูลทั่วไป
        กำหนดไม่เกิน 10 คำ และสำหรับ Google นั้นกำหนดไว้ 20 คำ
 
      - WITH/ WITHIN อนุญาตให้ผู้ใช้กำหนดจำนวนคำสูงสุด 
 
      - ADJACENT จะไม่อนุญาตให้กลับคำหน้าหลัง โดยคำสองคำจะต้องอยู่ติดกัน
        เท่านั้น และเรียงลำดับตามที่กำหนด
 
3.การค้นแบบวลี
 
      - จะปรากฎคำใกล้เคียงตามที่กำหนด แต่จะอยู่ก่อนหรือหลังก็ได้ ตาม ลำดับที่กำหนด
        บางครั้งจะมีคำ Stop word 
      - จะใช้เครื่องหมายคำพูด "..." และ วงเล็บ (...)
      - เมื่อค้นประโยคที่เป็นข้อความ เช่นใน Google นั้น จะปรากฎตัวอักษรสีแดง
      - จะแสดงผลการค้นเสมอ

การกำหนดคำสำคัญ (Keyword)

คือ การกำหนดค้นจากคำที่เห็นว่าควรจะปรากฏในเอกสาร เช่น ในส่วนชื่อเรื่อง คำอธิบายเนื้อหา สาระสังเขป หรือในส่วนเนื้อหาของเอกสาร


การกำหนดการค้นคำสำคัญ
  1. กำหนดคำสำคัญเรื่องที่จะค้น
  2. เรียงลำดับความสำคัญของคำสำคัญ
  3. หาคำเหมือน คำที่มีความหมายข้างเคียง สัมพันธ์กัน
  4. กำหนดรูปแบบการค้นที่ต้องการ
  5. ตรวจสอบตัวสะกด

วิธีการกำหนดคำค้นและกำหนดหนดเนื้อหาหลัก ก่อน
  • ให้ดูจากคำเรียก ชื่อเรียก สาขาวิชา และสถานที่ภูมิศาสตร์ โดยตัดคำเชื่อม คำบุพบท คำขยายความออก
  • ใช้คำที่เฉพาะ เจาะจงกว่า
  • ใช้คำที่แนะนำ จากการสืบค้น เช่น การสืบค้นโดย google อาจมีคำสัมพันธ์ให้เลือกเนื้อหาที่ใกล้เคียงกัน

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การสืบค้นฐานข้อมูล หัวเรื่อง คำสำคัญ

  การสืบค้นฐานข้อมูลมีวิธีการค้นอยู่ 2 แบบ คือ
  • การกำหนดเนื้อเรื่อง (Subject )
  • การกำหนดคำสำคัญ (Keyword)





 

1. การกำหนดเนื้อเรื่อง (Subject)
การกำหนดค้นโดยใช้เนื้อเรื่องซึ่งเป็นคำศัพท์บังคับหรือเรียกว่า คำควบคุม เป็นคำมาตรฐานที่กำหนดใช้ สำหรับเนื้อหาหลักของเอกสารทั้งหมด ผู้จัดทำจะมีคู่มือการกำหนดเลือกคำที่กำหนดไว้  บรรณารักษ์นิยมเรียก หัวเรื่อง ทำให้ได้ผลค้นที่เที่ยงตรงต่อความต้องการได้สารสนเทศ 
 การกำหนดแบบใช้หัวเรื่อง คือ การกำหนดค้นที่ไม่ได้สนใจในความแตกต่างของการใช้คำเพราะผู้เขียนส่วนใหญ่มักจะใช้คำที่แตกต่างกันในการอธิบาย แต่จะคำนึงถึงเนื้อหาหลักของเรื่องในการกำหนดคำ





2. การกำหนดคำสำคัญ (Keyword)
 การกำหนดค้นจากคำที่เห็นว่าควรจะปรากฏในเอกสาร เช่น ในส่วนชื่อเรื่อง คำอธิบายเนื้อหา สาระสังเขป หรือในส่วนเนื้อหาของเอกสาร
การกำหนดค้นโดยใช้คำสำคัญจะได้ผลการค้นที่ได้ผลค้นไม่ตรงเท่ากับการใช้หัวเรื่อง

ขั้นตอนการกำหนดคำสำคัญ
     1. กำหนดคำสำคัญเรื่องที่จะค้น
     2. เรียงลำดับความสำคัญ ของ คำสำคัญ
     3. หาคำเหมือน คำที่มีความหมายข้างเคียงหรือสัมพันธ์กัน
     4. กำหนดรูปแบบการค้นที่ต้องการ โดยไม่ควรกำหนดคำที่กว้างจนเกินไป
     5. ตรวจสอบตัวสะกด


ตัวอย่าง เช่น ผลกระทบของภาวะโลกร้อนในประเทศไทย
คำสำคัญได้แก่  
  • ผลกระทบ  ภาวะโลกร้อน  ไทย
  • ผลกระทบ   โลกร้อน   ไทย
  • ปัญหา ภาวะโลกร้อน ไทย
  • ปัญหา โลกร้อน ไทย