วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การสืบค้นฐานข้อมูล หัวเรื่อง คำสำคัญ

  การสืบค้นฐานข้อมูลมีวิธีการค้นอยู่ 2 แบบ คือ
  • การกำหนดเนื้อเรื่อง (Subject )
  • การกำหนดคำสำคัญ (Keyword)





 

1. การกำหนดเนื้อเรื่อง (Subject)
การกำหนดค้นโดยใช้เนื้อเรื่องซึ่งเป็นคำศัพท์บังคับหรือเรียกว่า คำควบคุม เป็นคำมาตรฐานที่กำหนดใช้ สำหรับเนื้อหาหลักของเอกสารทั้งหมด ผู้จัดทำจะมีคู่มือการกำหนดเลือกคำที่กำหนดไว้  บรรณารักษ์นิยมเรียก หัวเรื่อง ทำให้ได้ผลค้นที่เที่ยงตรงต่อความต้องการได้สารสนเทศ 
 การกำหนดแบบใช้หัวเรื่อง คือ การกำหนดค้นที่ไม่ได้สนใจในความแตกต่างของการใช้คำเพราะผู้เขียนส่วนใหญ่มักจะใช้คำที่แตกต่างกันในการอธิบาย แต่จะคำนึงถึงเนื้อหาหลักของเรื่องในการกำหนดคำ





2. การกำหนดคำสำคัญ (Keyword)
 การกำหนดค้นจากคำที่เห็นว่าควรจะปรากฏในเอกสาร เช่น ในส่วนชื่อเรื่อง คำอธิบายเนื้อหา สาระสังเขป หรือในส่วนเนื้อหาของเอกสาร
การกำหนดค้นโดยใช้คำสำคัญจะได้ผลการค้นที่ได้ผลค้นไม่ตรงเท่ากับการใช้หัวเรื่อง

ขั้นตอนการกำหนดคำสำคัญ
     1. กำหนดคำสำคัญเรื่องที่จะค้น
     2. เรียงลำดับความสำคัญ ของ คำสำคัญ
     3. หาคำเหมือน คำที่มีความหมายข้างเคียงหรือสัมพันธ์กัน
     4. กำหนดรูปแบบการค้นที่ต้องการ โดยไม่ควรกำหนดคำที่กว้างจนเกินไป
     5. ตรวจสอบตัวสะกด


ตัวอย่าง เช่น ผลกระทบของภาวะโลกร้อนในประเทศไทย
คำสำคัญได้แก่  
  • ผลกระทบ  ภาวะโลกร้อน  ไทย
  • ผลกระทบ   โลกร้อน   ไทย
  • ปัญหา ภาวะโลกร้อน ไทย
  • ปัญหา โลกร้อน ไทย